พวงมาลัย
“วัฒนธรรมในสมัยก่อนจนถึงปัจจุบันของพวงมาลัยหรือดอกไม้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างครับ?”
จริงๆแล้ววัฒนธรรมโดยรวมก็คือมีการพัฒนาอยู่แล้วในความหมายของมันนะครับ โดยเฉพาะเรื่องราวของดอกไม้ก็มีวัฒนธรรมของมันอยู่แล้วนะครับ เริ่มต้นของวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียที่เกิดวัฒนธรรมเกี่ยวกับดอกไม้ก็เกิดที่อินเดียโดยหลักๆนะครับตรงนี้ สองจุดประสงค์หลักที่บอกไปนะครับ เป็นวัฒนธรรมที่เกิดทางศาสนาอินเดีย มีการเผยแผ่ในส่วนวัฒนธรรมของดอกไม้ไทย ทางบก ทางศาสนา จากอินเดียเข้าสู่ทิเบต เข้าสู่จีน เกาหลี และ เข้าสู่ญี่ปุ่น และดอกไม้ในส่วนของตรงนี้ เราใช้ในการบูชาทางศาสนา และก็ในการค้าขายต่างๆนะครับ ดอกไม้ต่างๆในภูมิภาคอื่นก็จะเดินทางมาจากอีกภูมิภาคหนึ่งได้ หรือว่าเราใช้ศิลปะในการวาดลายดอกไม้จากภูมิภาคหนึ่งสู่อีกภูมิภาคหนึ่งได้เช่นเดียวกันนะครับ
“เมื่อในสมัยก่อนพวงมาลัยจะใช้กับคนชนชั้นสูงเท่านั้น แต่ว่าในสมัยนี้มันได้มีการแพร่หลายออกมาจนถึงระดับชั้นสามัญชนคนธรรมดา แต่ว่าในอดีตพวงมาลัยถูกนำไปใช้อยู่แค่ในวังหรือป่าวครับ?”
พวงมาลัยใช้กับชนชั้นสูงในอดีต เพราะว่าชนชั้นสูงนะครับส่วนมากก็จะมีเวลาว่างเยอะและจะมีการสืบทอดต่อๆกันมาด้วยการเรียนจากรุ่นสู่รุ่น จากสยามประเทศของเรา เช่นจากรุ่นยาย มาสู่แม่ และรุ่นหลานสาวก็มีการเรียนรู้งานดอกไม้ต่างๆ รวมทั้งงานเครื่องแขวนต่างๆ ไม่เฉพาะมาลัย แต่ว่าในส่วนของมาลัยที่บอกไปว่าที่อินเดียนะครับ เขาไม่ใช้วิธีการร้อยผ่านเข็ม เขาจะใช้วิธีการมัดนะครับ ใช้เส้นด้ายมัดกับดอกไม้ เพราะว่าเขามีความเชื่อว่าเขาไม่นิยมหักดอกไม้ อีกอย่างหนึ่งก็คือ การใช้พวงมาลัยนะครับมาหลากหลายขนาดเลย เป็นพวงมาลัยยักษ์ อันนี้ใช้การมัดเลย โดยส่วนมากก็จะใช้ผู้ชายในการทำ พวงมาลัยเป็นมาลัยเยอะๆเลย เพราะว่า เทวรูปอาจจะใหญ่ อีกอย่างหนึ่งก็คือมีเทพเจ้าหลายองค์จึงใช้พวงมาลัยหลายพวง การนำมาร้อยทีละอันอาจจะใช้เวลาเยอะนะครับ การมัดคือก็เป็นวิธีการที่ทำที่ไวที่สุดเร็วที่สุด หรือ วิวัฒนาการต่อมาก็คือ การพับริบบิ้นเป็นพวงมาลัยด้วยนะครับ แต่ว่าในเมืองไทยของเรามีดอกไม้สวยงาม ก็มีคิดนำกรีบดอกไม้เนี้ยมาแยกส่วนออกมา ที่เราเรียกว่า “การประดิษฐ์” แล้วก็นำมาร้อยเป็นรวดลายต่างๆที่สวยงามซึ่งแตกต่างจากภูมิภาคอื่นนั้นเอง อันนี้เป็นความแตกต่างของมาลัย
“แล้วเรื่องของรูปร่างในปัจจุบันกับสมัยก่อนมันต่างกันออกไปไหมครับ?”
ต่างครับเป็นแนวทันสมัยมากขึ้นนะครับและรูปร่างของมาลัยก็มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนนะครับตรงนี้ ก็มีการทำเป็นรูปแบบของลายคิดลายใหม่ขึ้นมา
“เห็นเดี๋ยวนี้ว่ามีการทำพวงมาลัยปลอมที่ไม่ได้ทำมาจากดอกไม้?”
เป็นพลาสติกใช่ไหมครับอันนี้ ก็อีกส่วนหนึ่งนะครับ ปัจจุบันพวงมาลัยก็ไม่ได้ใช้ในส่วนของการบูชาเพียงอย่างเดียวนะ ใช้เป็นของที่ระลึกก็ได้ เช่น วันแม่ พวงมาลัยวันแม่นะครับ อย่างเช่นที่ถ้าเทศกาลดอกไม้ของพิพิธภัณฑ์ที่ผ่านมา เราจัด “เทศกาลมาลัยไทยดอกไม้ไทยให้แม่” และก็ใช้มอบเป็นของบูชาบุคคลด้วยหรือว่าบูชาสิ่งศักสิทธิ์นะครับ นอกจากนี้มาลัยยังเป็นเครื่องแสดงความยินดีนะครับ เรามี “มาลัยครุย” เป็นสายสะพายมาลัยครุย เมื่อก่อนเราใช้ในการแสดงความยินดีเนื่องในการสำเร็จการศึกษา การเลื่อนยศ หรือ บรรดาศักดิ์ ซึ่งวิวัฒนาการปัจจุบัน เราไม่มีแล้ว เราไม่ค่อยได้ใช้นะครับ แต่ว่าอาจจะมีเห็นอยู่บ้าง ในการแต่งกายย้อนยุค นะครับ ปัจจุบันเราใช้สายสะพายผ้า แทน มาลัยครุย
“แล้วการทำกำไลข้อมือของชาวอินเดียนะครับ ประเทศไทยถอดแบบการทำพวงมาลัยมาจากตรงนั้นเลยหรือเปล่าครับ?”
เป็นการส่งผ่านวัฒนธรรมออกมาแล้วก็ปรับเปลี่ยนเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ของอินเดียใช้เป็น ลูกปัด แล้วมาจากท่าทางในการรำระบำ มีความปราดเปรียวว่องไว ถ้าเกิดใช้ดอกไม้อาจจะ กระจุยกระจาย แต่ว่าของเราก็มีเหมือนกันมีการแสดงแต่ว่าการแสดงของเรามีท่ารำที่อ่อนช้อย อย่างเช่น ท่ารำฉุยฉาย เราก็จะใช้เป็น พวงมาลัยดอกไม้นะครับ อีกอย่างหนึ่งเครื่องแต่งกายในการแสดงของไทยเรา พวกโขนต่างๆ จะมีดอกไม้ หรือว่า อุบะ อยู่ข้างๆทางด้านขวาของชฎา ก็คือตัวพระที่เป็นผู้ชาย ส่วนทางด้านซ้ายจะเป็นตัวนางหรือว่าผู้หญิงนะครับ แล้วในอดีตก็จะมีเป็นละครในที่ใช้ผู้หญิงแสดงทั้งหมดเลยนะครับ เอาผู้หญิงมารับบทบาทเป็นตัวพระ เพราะฉะนั้นหน้าตาก็จะอ่อนช้อยใช้ลักษณะรูปแบบของชฎาและก็เป็นในส่วนของอุบะ และก็มีท่ารำต่างๆที่ตัวพระเล่นและตัวนางต้องเข้าคู่กันนั่นเองนะครับ
“ปัจจุบันยังมีการพัฒนาพวงมาลัยอยู่เรื่อยๆหรือเปล่าครับ?แล้วแนวโน้มพวงมาลัยในอนาคตจะเป็นอย่างไรบ้างครับ?”
พวงมาลัยในอนาคตจะเป็นแนวทันสมัยมากขึ้น อย่างเช่น อาจารย์ วิรินเชาวนะ นะครับใช้วิธีการสร้างสรรค์งานพับกระดาษของญี่ปุ่น โดยเราเรียกว่ากระดาษ “ โอริกามิ” นำมาพับเป็นมาลัย อันนี้ สามารถนำมาเป็นของที่ระลึกได้นะครับ สามารถเข้าไปดูได้ใน Facebook แฟนเพจของ อาจารย์วิรินเชาวนะ ชื่อว่า “พับเพียบเรียบร้อย” อันนี้ก็จะใช้เป็นการพับงานมาลัยงานดอกไม้สดของไทยเรานั้นเองนะครับ แต่จะเป็นแนวทันสมัยมากขึ้น
“ส่วนใหญ่ดอกไม้ที่ใช้ในการทำพวงมาลัยจะเป็นดอกอะไรครับ?”
ถ้าเป็นของไทยเราก็จะใช้ดอกรัก ดอกมะลิ มะลิวันแม่ ตามวัฒนธรรมของเรานะครับที่ใช้มะลิ ในการไหว้แม่ หรือว่าจะเป็นใบไม้ที่ให้สีต่างๆ อย่างเช่นใบแก้วที่ให้ สีเขียวสดนะครับ กุหลาบมอญต่างๆนะครับ เอาสีของดอกไม้มาใส่ลายต่างๆนะครับ
“แล้วรูปแบบมาลัยของในวังและของนอกวังมีความแตกต่างกันอย่างไรครับ?”
ส่วนประกอบของมาลัยจะมีตัวของมาลัย ที่เป็นทรงกลม และมีลายหลายแบบ ขึ้นอยู่กับการ ออกแบบต่างๆ และก็จะมีตัวของ อุบะ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของมาลัย เช่น อุบะ ตุ้งติ้ง อุบะทรงเครื่อง อุบะสามชาย อุบะแขก อื่นๆ ก็สามารถนำมาประยุกต์ได้กับการทำมาลัย และในส่วนของมาลัยในวังนั้นนะครับ จะมีรูปแบบที่ค่อนข้างคล้ายไม่ค่อยแตกต่างจากพวงมาลัยนอกวังสักเท่าไร แต่ว่าพวงมาลัยในวังนั้นจะมีลวดลายที่สวยสดงดงามมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ในแต่ละแบบ ซึ่งพวงมาลัยนอกวังเนี้ยนะครับจะเป็นแค่พวงมาลัยธรรมดาปกติจะไม่ค่อยปราณีตมากเท่ากับในวังในส่วนของตรงนี้นะครับ
“พอจะทราบไหมครับว่าพวงมาลัยเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อไร?”
สันนิษฐานว่าเข้ามาครั้งแรกเมื่อครั้งที่เราเริ่มรับพุทธศาสนาเข้ามา และคิดว่าเข้ามาพร้อมกับพุทธศาสนานะครับ