top of page

สามัญชนทั่วไปมีการใช้พวงมาลัยเกี่ยวข้องในวิถีชีวิตเช่นเดียวกับวัฒนธรรมหลวง อาทิ เช่น ประเพณี

สงกรานต์ประเพณีลอยกระทง ในการทำบุญของคนทั่วไปมิได้เพียงแค่เก็บดอกไม้ใส่กระทงแล้วนำมาถวายแต่ได้มีการร้อยดอกมะลิอย่างวิจิตรแต่วิจิตรน้อยกว่าวัฒนธรรมหลวง และนอกจากนี้คนทั่วไปได้มีการเชื่อว่าพวงมาลัยที่ได้ถวายแล้ว จะไม่นำไปทิ้ง เพราะเชื่อว่าจะไม่เจริญ ให้นำไปลอยน้ำหรือเผาไฟ  แต่ก็มีบางคน รู้ว่าไม่ควรทิ้งขยะ ไม่ลอยน้ำ ไม่เผาไฟ แต่นำไปแขวนตามต้นไม้ ยิ่งเป็นต้นกล้วย หรือ ต้นไม้ใหญ่ๆ จากพวงมาลัยพวงเดียวเหี่ยวแล้ว จะมีอีกหลายพวง มาแขวนตาม แล้วต่อมาไม่นาน จะมีผ้าเจ็ดสีมาผูก มีศาลพระภูมิมาตั้ง เจ้าของพวงมาลัยพวงแรกที่นำมาแขวนไว้ กลับมาอีกที ต้องยกมือไหว้ต้นไม้ หรือต้นกล้วยที่ตัวเองและแขวนพวงมาลัย นั้นด้วย เพื่อความเจริญ

ทำให้เราเห็นว่าวัฒนธรรมพื้นบ้านใช้พวงมาลัยในด้านประโยชน์ใช้สอย ไม่เน้นวิจิตรบรรจง เฉกเช่น

วัฒนธรรมหลวงและยังใช้ในวิถีชีวิตประจำวันมากกว่าด้านพิธีกรรมอีกด้วย(รศ.อนงค์ พูนสุวรรณ, สัมภาษณ์, 2559)

พวงมาลัยในวัฒนธรรมพื้นบ้าน

bottom of page