top of page

รศ.อนงค์ พูนสุวรรณ

“วัฒนธรรมการใช้พวงมาลัยของไทยที่แต่ก่อนเป็นวัฒนธรรมของชาววัง มันถ่ายทอดมาสู่สามัญชนได้อย่างไรครับ”

พอเวลาเปลี่ยน เศรษฐกิจ สังคมมันเปลี่ยนไป การใช้พวงมาลัยเอง ก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลา

 

“แล้วการศึกษามีผลไหมครับ  มีการพัฒนาการศึกษา ตั้งโรงเรียน ตั้งมหาวิทยาลัย”

ใช่ค่ะ  เพราะการทำดอกไม้พวกนี้เขาทำกันเฉพาะในวัง  พอตั้งโรงเรียน เขาก็เอาของที่ในวัง มาสอนในโรงเรียน อย่างโรงเรียนการเรือน สมัยก่อนอาจารย์เองจบจากการเรือน (โรงเรียนการเรือน) ตอนนั้นยังไม่มี วิทยาลัยครู (มหาวิทยาลัยสวนดุสิต) เขาก็เอาคนที่อยู่ในวังมาสอน อย่างท่านผู้หญิงพัว ก็เคยสอนที่นี่ (ท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร) หม่อมราชวงศ์ เตื้อง  สนิทวงศ์   แล้วเขาสอนเหมือนในวังเลย เป็นของแท้

“แล้วพวกวิชาจัดดอกไม้ที่สอนในโรงเรียน เริ่มประมาณช่วงไหนหรือครับ ที่เอาวิชาจากในวังมาสอน”

ที่โรงเรียนการเรือนเลย เป็นที่แรก จริงๆ มีหลายที่ทั้งโชติเวช(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตโชติเวช)  สวนสุนันทา (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา) แต่ที่ การเรือนเป็นที่แรก ที่อื่นเขาตามกันมาทีหลัง แต่ที่การเรือน คนในวังมาสอนถ่ายทอดจากในวังของแท้

 

 

“แล้วปัจจุบัน พวงมาลัยที่เป็นของในวัง กับที่อยู่ตามทั่วไป อย่างเช่น ปากคลองตลาด มันแตกต่างกันไหมครับ”

แตกต่างสิ ชัดเจนเลย ดูออกง่าย เพราะพวงมาลัยที่อยู่ในวัง เขาจะประณีตมาก อย่างดอกไม้ที่ทำอุบะ ในวังเขาต้องเย็บดอกให้มันหุบ แล้วอุบะเขาจะมีหลายชั้นมาก ทั้งมาลัยคล้องมือ มาลัยสองชาย แตกต่างกันชัดเจนเลย ของในวังกับที่ปากคลองตลาด เพราะที่ปากคลองที่เขาทำกัน เขาก็ทำแบบชาวบ้าน เขาทำแล้วไปขาย เขาจะไม่ประณีตแบบในวัง เอาดอกไม้ติดก็เสร็จเลย มันง่าย ก็เลยไม่เหมือนในวัง พอเวลาเขาถ่ายทอดกัน พวกชาวบ้านเขาสืบทอดจากชาวบ้าน แบบพวงมาลัยไม่เหมือนตามโรงเรียนที่เขาเอาคนในวังมาสอน แบบที่เอาก็เป็นแบบที่เขาใช้มาตั้งแต่ ร.5 (รัชกาลที่5) เลย

 

“แล้วพวกสังคมที่มันเปลี่ยนเกี่ยวไหมครับ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง(การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475)”

เกี่ยวนะ เพราะช่องว่างมันลดลง ไม่งั้นคงจะต้องหมอบกราบไปเรียน คลานไปคลานมา ไม่ได้เรียนพอดี(หัวเราะ) ยังต้องพูดราชาศัพท์อีก

bottom of page