พวงมาลัย
“วันนี้นึกยังไง แม่ปีปจัดดอกไม้เป็นการใหญ่” “เป็นการใหญ่ที่ไหนกัน น้องก็จัดอย่างนี้ทุกเย็น บางวันก็สุกเอาเผากิน แล้วแต่อารมณ์” “คุณปีปวางมาลัยดอกมะลิลงบนพานแก้วใบหนึ่ง กะให้มาลัยนั้นพอดีกับขอบพาน วางมาลัยครึ่งซีกขดเป็นวงซ้อนลงไป แล้วจึงบรรจุเสียบดอกจำปีลงไปตรงกลางช่องว่างของวงมาลัยครึ่งซีกเสียบลดหลั่นกันขึ้นไปจนถึงดอกสุดท้ายตรงยอด มองดูเป็นพุ่มดอกมะลิ ที่มียอดเป็นดอกจำปี” “ระหว่างที่คุณปีปเสียบดอกจำปีนั้น คุณจำปาพี่สาวมองดูพลางก็กล่าวว่า ระวังให้ดีนะ จัดดอกไม้บูชาพระไม่สม่ำเสมอแล้วแต่อารมณ์ ระวังจะมีความสุขไม่สม่ำเสมอในชาติหน้า” (ขมิ้นกับปูน-จุลลดา ภักดีภูมินทร์(นามแฝง),//2521,//20)
หลังปรับประเทศให้ทันสมัย
วัฒนธรรมการร้อยดอกไม้ ลงมาที่สามัญชนวัฒนธรรมข้ามขั้นได้เพราะ
ในวัฒนธรรมของคนชนชั้นสูงมีการใช้พวงมาลัยในพระราชพิธีต่างๆเช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนอกจากนี้ในสังคมคนชั้นสูงมีพวงมาลัยเกี่ยวข้องในวิถีชีวิต เช่น การทำบุญ คนชั้นสูงมักทำพวงมาลัยโดยการร้อยมาลัยแบบวิจิตรบรรจงเพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์ นอกจากนี้ครอบครัวของคนชั้นสูงส่งเสริมให้สตรีมีการศึกษาเกี่ยวกับการร้อยพวงมาลัยในรูปแบบต่างๆซึ่งแสดงถึงความอ่อนโยนละเอียดลออและบ่งบอกความเป็นกุลสตรีที่ดีจนเป็นศาสตร์ของคนชั้นสูง
ในสมัยก่อนปรับประเทศ
วัฒนธรรมการร้อยพวงมาลัยของชนชั้นสูง มีมาแต่ครั้นสมัยสุโขทัย เป็นการช่างฝีมือถือกำเนิดขึ้นภายในราชสำนัก มาลัยถือเป็นของสูงใช้สำหรับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินถวายเป็นพุทธบูชา และใช้ในการประดับตกแต่งหมู่พระวิมาน พระแท่น หรือใช้ในพระราชพิธีต่างๆ
พัฒนาการของพวงมาลัย
ในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ได้มีสนมเอกของพระร่วงเจ้า(พระมหาธรรมราชาที่ 1) คือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือ นางนพมาศ ซึ่งเป็นผู้มีฝีมือในด้านการประดิษฐ์ดอกไม้สดเป็นเลิศ ตามหลักฐานที่อ้างถึงในหนังสือนพมาศที่กล่าวถึง พระราชพิธีจองเปรียง ซึ่งตรงกับพระราชนิพนธ์เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือนทำให้มีหลักฐานบันทึกว่าในสมัยของสมเด็จพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัยศิลปะในการจัดตกแต่งดอกไม้นั้นเจริญอยู่แล้ว
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้รับการยกย่องว่า มีพระนามเลื่องลือในการร้อยพวงมาลัย คือแต่เดิมนั้นพวงมาลัยของไทยร้อยด้วยดอกมะลิ เป็นมาลัยสีขาวกลมแต่อย่างเดียว จะมีพิเศษบ้างก็เพียงทำเป็นเกลียว วนไปเรียกว่า มาลัยเกลียว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงประดิษฐ์คิดร้อยมาลัย ด้วยดอกไม้ต่าง ๆ ไม่ใช้เพียงดอกมะลิอย่างเดียว แต่มีการใช้ใบไม้แทรก ทำให้เกิดลวดลายและสีสันแปลกๆ
ในงานพระศพสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา ซึ่งเป็นพระมารดาของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง สมเด็จพระพันปีหลวง มีพระราชเสาวนีย์ดำรัสให้ ท้าววรคณานันท์ ( ม.ร.ว.ปั้ม มาลากุล ) จัดทำมาลัยไปประดับพระศพเช่น ตกแต่งตามฉัตรรัดพระโกษ และแขวนตามประตู หน้าต่าง ตามประเพณีงานใหญ่ ๆ ของเจ้านายตลอดงานนี้ มาลัยตกแต่งเปลี่ยนสีเปลี่ยนรูป เปลี่ยนแบบ เรื่อย ๆ จึงนับได้ว่าตั้งแต่บัดนั้น การร้อยมาลัยได้มีการวิวัฒนาการก้าวหน้ากว่าเดิม ที่เป็นต้นมาหลายแบบ และในระหว่างนั้นท่านเจ้าคุณประยูรวงศ์ ก็ได้จัดทำมาลัยครุยขึ้นมา ท้าววรคณานันท์ เป็นผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นเจ้าของมาลัยงามหลายแบบ และความรู้ความชำนาญในเรื่องมาลัย ได้สืบต่อมาจนถึง ม.ล.ป้อง มาลากุล ผู้ซึ่งมีความสามารถ ในเรื่อง การทำดอกไม้สด และดอกไม้แห้งเป็นอย่างยิ่ง ( อุมานราชธน, พระยา, 2516 : 11 )
1). การเลิกทาส 23 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทุกปีจะมีการวางพวงมาลาดอกไม้ที่พระบรมรูปทรงม้า เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124 ซึ่งเป็น พระราชบัญญัติที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดเรื่องทาสในเรือนเบี้ยให้เป็นไปอย่างเด็ดขาด โดยกำหนดให้เด็กที่เกิดจากพ่อหรือแม่ที่เป็นทาส ไม่จำเป็นต้องเป็นทาสอีกต่อไป
เนื่องจากการที่ ร.5 สั่งให้ลูกหลานที่เกิดจากทาสนั้นไม่ต้องเป็นทาส แล้วเหมือนในสมัยก่อนหน้านี้ อาจทำให้เกิดการแพร่หลายของวัฒนธรรมชั้นสูงลงมาจนถึงชั้นสามัญชน
ดังหลักฐานที่ปรากฏชัดใน นวนิยาย“สี่แผ่นดิน” ของ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่มีเนื้อหาอิงประวัติศาสตร์ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ถึง รัชกาลที่ 8 โดยมีเนื้อความที่กล่าวถึงการร้อยพวงมาลัย ดังนี้ “พลอยเริ่มร้อยมาลัยเป็น ถึงจะยังไม่งามแต่ก็พอเข้ารูป คุณสายหัดให้พลอยปลอกมะปรางริ้ว ซึ่งต้องลงทุนไปด้วยมะปรางเป็นอันมาก และแผลที่นิ้วมือของพลอยหลายแผล และเมื่อพลอยปอกมะปรางพอแลเห็นริ้วได้ เสด็จก็รับสั่งให้หาขึ้นไปปอกถวายทอดพระเนตรและทรงตักเตือนสั่งสอนวิธีปอกให้หลายอย่าง”จะเห็นได้ชัดว่าวิชาการเรือนต่างๆได้เริ่มเข้าสู่คนสามัญชนแล้ว
3.) การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
1.ผลกระทบทางด้านการเมือง เป็นการสิ้นสุดพระราชอำนาจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทางยอมรับการเปลี่ยนแปลง และทรงยินยอมพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทย แต่พระองค์ก็ทรงเป็นห่วงว่าประชาชนจะมิได้รับ อำนาจการปกครองที่พระองค์ทรงพระราชทานให้โดยผ่านทางคณะราษฎรอย่างแท้จริง
ครั้งนี้อาจเกิด การเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบและการใช้งานของพวงมาลัย จากที่เคยใช้ในชนชั้นสามัญตั้งแต่ ร.5 เป็นต้นมา ในด้านของรูปแบบนั้นอาจมีการประดับและตกแต่งในรูปแบบที่หลากหลายขึ้น สวยงามมากขึ้น ในด้านของการใช้งาน ไม่ได้ใช่แค่การประกอบพิธีการอย่างเดียวเพราะเนื่องจากมีรูปแบบที่สวยงามขึ้น ก็จะทำให้เกิดการนำไปปรับใช้ในรูปแบบที่หลาหลายมากขึ้น เช่น การใช้เป็นสิ่งแทนความยินดี การเคารพนบน้อมผู้อาวุโส หรือการนำมาใช้ประดับตกแต่ง ตามรูปแบบที่เปลี่ยนไปของพวงมาลัย
2.ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ เปลี่ยนแปลงที่ส่งผลทางด้านเศรษฐกิจ แต่ในผลกระทบทางด้านนี้ไม่ได้ส่งผลให้ระบบเปลี่ยนแปลงไปมาก ประเทศไทยยังคง เน้นรูปแบบเศรษฐกิจไปทางด้านเกษตรกรรม ทำให้ยังมีการพัฒนารูปแบบต่างๆของการนำดอกไม้หรือ พืชพรรณต่างๆมาต่อยอดเพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการนำไปใช้งานให้เหมาะสมกับในโอกาสต่างๆ
3. ผลกระทบทางด้านสังคม ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพ มีการออกความคิดเห็น การเข้าถึงพิธีกรรมต่างๆทางราชการ สามารถพบเห็นได้อย่างแพร่หลายรู้จักการประดิษฐ์ พวงมาลัย เพื่อใช้ในการทำงาน เคารพ หรือ นำมาประกอบอาชีพ เพราะฉะนั้น หลังการปกครอง 2475 นี้พวงมาลัยไม่ได้เป็นวัฒนธรรมที่ตกทอดแค่ชนชั้นสูงอีกต่อไปดังหลักฐานที่ปรากฏเด่นชัด ใน นวนิยาย “ขมิ้นกับปูน” ของ จุลลดา ภักดีภูมินทร์นามปากกาของหม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ โดยมีข้อความตอนหนึ่งว่า
พวงมาลัย ในสมัยปัจจุบันนี้ หลังจากผ่านมาหลายยุคสมัยและหลายสาเหตุแตกต่างกับในสมัยก่อนตรงความหลากหลายของรูปแบบการใช้งานและที่สำคัญที่สุดคือ ความหมาย
ในสมัยก่อนนั้น พวงมาลัยอาจหมายถึงแค่ การเคารพบูชา อย่างเดียว
แต่ในปัจจุบันนั้นพวงมาลัย คือ การบูชาพระ,ตัวแทนของความเคารพผู้มีพระคุณ,การแสดงความยินดี,แสดงความชื่นชม(นักร้อง),ความสวยงาม (นายอุปสมบท ศรีน่วม, สัมภาษณ์ , 2559)
คลิปวิดีโอสั้นจากเรื่อง สี่แผ่นดิน
จากข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดว่า การร้อยมาลัยได้เข้าสู่สามัญชนในช่วงยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองอย่างเต็มตัวแล้ว โดยที่คนสามัญชนได้ความรู้การเรือนมาจากในวังและได้นำมาทำเองเมื่อชีวิตได้อิสระมากขึ้น และได้นำความรู้พื้นฐานนี้มาประกอบเป็นอาชีพต่อไป
2). การปฏิรูปการศึกษา
การปฏิรูปการศึกษาในรัชกาลที่ 5 นับได้ว่าเป็นการปฏิรูปที่สำคัญอีกประการหนึ่ง เพราะแสดงให้เห็นว่า รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา ซึ่งจะมีส่วนในการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตกได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นการปฏิรูปการศึกษาให้สอดคล้องกับระบบการศึกษาของตะวันตก ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าไปมากแล้ว
ผลของการปฏิรูปการศึกษา(เฉพาะที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมการใช้พวงมาลัย)
1. ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมอย่างมาก เพราะการศึกษาสมัยใหม่ได้เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาบุคคลทุกระดับ ให้มีความรู้ความเข้าใจต่อการปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตกเช่น มีการนับถือศาสนาเกิดขึ้น
2. เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของบุคคลที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากระบบไพร่และทาส (อาจรวมถึงการทำดอกไม้ขาย เพื่อเอาไว้ใช้สักการะบูชาพระ ซึ่งเป็นอาชีพที่มีมาจนถึงทุกวันนี้)
3. ส่งผลให้อาชีพรับราชการเป็นที่นิยมของสังคมไทยตั้งแต่นั้นมา (ทำให้ประชากรส่วนใหญ่ใกล้ชิดกับชนชั้นสูงและมีการซึมซับวัฒนธรรม