พวงมาลัย
การร้อยมาลัย ได้มีการวิวัฒนาการก้าวหน้ากว่าเดิมเป็นต้นมาหลายรูปแบบ จึงทำให้เห็นได้ว่า คนไทยมีความประณีตในการใช้ดอกไม้โดยนำมาประดับตกแต่งในพิธีกรรมต่างๆทั้งในด้านศาสนา พิธีกรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานรื่นเริงซึ่งพิธีกรรมที่กล่าวมาข้างต้นล้วนแต่ใช้พวงมาลัยในการบูชาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (นายอุปสมบท ศรีน่วม, สัมภาษณ์ , 2559)
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงคิดร้อยมาลัยด้วยดอกไม้ต่างๆและใช้ใบไม้แทรกนำทำให้มีลวดลายต่างๆกันอย่างงดงามและพลิกแพลงทำรูปต่างๆกัน ในงานพระศพสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินมาตา ซึ่งเป็นพระมารดาของพระองค์สมเด็จพระพันปีหลวง มีพระราชเสาวนีย์ให้ ท้าววรคณานันท์ (ม.ร.ว. แป้ม มาลากุล) จัดทำมาลัยไปประดับพระศพตลอดงานนี้มาลัยที่ตกแต่งเปลี่ยนสี เปลี่ยนรูป เปลี่ยนแบบเรื่อยมา(สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี.//อุทุมพร สุนทรเวช,//2540.)
บรรพบุรุษของไทยมีชื่อเสียงในงานด้านศิลปะการประดิษฐ์อย่างมากมายโดยเฉพาะการประดิษฐ์ตกแต่งพวงดอกไม้ ใบ้ไม้ ผลไม้ และวัสดุอื่นๆ เป็นที่ขึ้นชื่อมานานแต่โบราณกาลแล้ว ในสมัยสุโขทัย รัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 1 มีพระสนมเอก คือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถในงานด้านฝีมือในการประดิษฐ์ดอกไม้สดเป็นเลิศ ในสมัยนั้นตามหลักฐานที่อ้างถึงใน หนังสือนางนพมาศหรือตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวถึงใน พระราชพิธีจองเปรียง เป็นพิธียกโคมขึ้นบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณีในสวรรค์ชั้นดาวดึง และพระพุทธบาท โดยบรรดาประชาชนชายหญิงต่างตกแต่งโคมชักแขวน และลอยกันทั่วนคร ข้าราชการและนางสนมกำนัลต่างทำโคม ร้อยด้วยบุปผาชาติเป็นรูปลวดลายวิจิตรพิสดารเข้าประกวดกัน
(นางนพมาศ.กรมศิลปากร,//2532)
หนังสือนพมาศยังกล่าวว่าในแผ่นดินพระมหาธรรมราชาที่ 1 ได้มีการแห่สนานช้างต้นม้าต้นปีละครั้ง ซึ่งตรงกับ พระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน ในพระราชพิธีสิบสองเดือน บรรดาเจ้าเมืองน้อยใหญ่ เศรษฐีคหบดีเข้าเฝ้าถวายบังคมและถวายเครื่องราชบรรณาการแก่พระร่วงเจ้าพระสนมกำนัลต่างๆ ก็ร้อยกรองดอกไม้เป็นรูปสัตว์ว่างๆ ใส่เมี่ยงหมากถวายให้พระร่วงเจ้าพระราชทานแก่ผู้เข้าเฝ้าใส่เมี่ยงหมากถวายให้พระร่วงเจ้าพระราชทานแก่ผู้เข้าเฝ้า